เนื่องด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกต ประกอบด้วยซิลิกาที่มีความแข็งแรง และมีคุณสมบัติในการยึดเกาะ รวมทั้งสามารถทำ ปฏิกิริยากับสารประกอบต่างๆ อนุภาคเล็ก แทรกซึมเข้าในพื้นผิว รูพรุน ช่องว่างขนาดเล็กได้ง่าย ช่วยป้องกันการซึมผ่านของน้ำ สารละลายโซเดียมซิลิเกตจึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่หลากหลาย เช่น
- ใช้เป็นตัวบ่มคอนกรีต ทาเคลือบผิวหน้าคอนกรีต เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวคอนกรีต ลดปัญหาการสึกกร่อนของคอนกรีต ลดการสูญเสียของความชื้นที่มีอยู่ในคอนกรีต ป้องกันการถูกทำลายที่ผิวหน้า เนื่องจากสารละลายโซเดียมซิลิเกต สามารถแทรกซึมไปบนพื้นผิวของคอนกรีตทำปฎิกิยากับสารประกอบแคลเซียมไฮดรอกไซต์ เกิดเป็นแคลเซียมซิลิเกต แทรกตัวในรูพรุนของพื้นผิวคอนกรีต ทำให้มีความแข็งแรง และทึบน้ำเพิ่มมากขึ้น
- ใช้ในงานปรับปรุงชั้นดินฐานราก โดยวิธีการอัดฉีดทางเคมี (Chemical Grouting) สารละลายโซเดียมซิลิเกตเป็นที่นิยมในงาน grouting เนื่องจากมีความปลอดภัยในการใช้งาน และสามารถเข้ากันได้กับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีอนุภาคเล็กและสามารถปรับค่าความหนืดให้เหมาะสมต่อการอัดฉีดในช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่มีขนาดเล็กๆได้ เมื่อทำการผสมสารละลายโซเดียมซิลิเกตกับสารเคมีที่เหมาะสม ทำปฏิกิริยา
กันจะแปรสภาพในอยู่รูปของเจลแทรกตัวในชั้นดินปิดช่องว่างป้องกันการไหลผ่านของน้ำได้ - ใช้ในงานทำพื้นทาง (Base) หรืองานรองพื้นทาง (Subbase) ช่วยให้ดินทรายมีความเสถียร แข็งตัว เพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้นผิวทาง ป้องกันการซึมผ่านของน้ำ ลดการกัดเซาะ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นทางได้รับความเสียหาย
ที่มา:
[1] ฐิติพงศ์ ต่วนทอง. (2019), ความต้านทานการขัดสีและการซึมของคลอไรด์ผ่านคอนกรีตที่ทาผิวหน้า ด้วยสารละลายโซเดียมซิลิ
เกต. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 42(1), 55-68.
[2] วัชรพล นิตสูงเนิน และคณะ. (2019), การปรับปรุงสภาพธรณีวิทยาฐานรากที่มีความยุ่งยาก กรณีศึกษา โครงการอ่างเก็บน้ำ
คลองขลุง จังหวัดจันทบุรี. ส่วนวิศวกรรมธรณี สำนักงานสำรวจด้านวิศวกรรม และธรณีวิทยา กรมชลประทาน. 12th
THAICID NATIONAL SYMPOSIUM, 249-258.
[3] J. Paul Guyer, P.E., R.A. (2015), An Introduction to Chemicals for Grouting of Soils.
[4] Claude H. Hurley and Thomas H. Thornburn. SODIUM SILICATE STABILIZATION OF SOILS: A REVIEW OF THE
LITERATURE. University of Illinois. 46-79.