การใช้โพแทสเซียมซิลิเกตในอุตสาหกรรมการเกษตร

         โพแทสเซียมซิลิเกต ถือเป็นแหล่งของธาตุโพแทสเซียม(K) และธาตุซิลิกอน(Si) ที่อยู่ในรูปของสารละลาย ซึ่งทั้ง 2 ธาตุนี้มีความสำคัญต่อพืชเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากธาตุโพแทสเซียมจัดเป็น 1 ใน 3 ธาตุอาหารหลักที่พืชจะขาดไม่ได้และต้องการในปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มธาตุโพแทสเซียมให้กับดิน หากปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่อยู่ในดินมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช

ประโยชน์ของธาตุโพแทสเซียม

  • ช่วยในการสังเคราะห์แสง และลำเลียงสารอาหารพวกแป้งและน้ำตาลที่ได้จากสังเคราะห์ไปเลี้ยงส่วนที่กำลังเจริญเติบโต และเก็บสะสมไว้ที่หัวหรือลำต้นของพืช ช่วยเสริมให้ลำต้นอวบใหญ่ ผลผลิตมีน้ำหนัก
  • ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดีขึ้น ผลผลิตมีคุณภาพเก็บรักษาไว้ได้นาน

พืชที่ขาดธาตุโพแทสเซียม

  • ธาตุโพแทสเซียมที่สะสมในใบแก่และเซลล์อื่นๆ จะถูกลำเลียงไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้บริเวณใบแก่มีลักษณะผิดปกติ เช่น

              – พืชใบเลี้ยงคู่ ใบซีด แห้งตายเป็นจุดๆ

              – พืชใบเลี้ยงเดี่ยว(จำพวกใบถั่ว ข้าวโพด ข้าว และธัญพืช) ปลายและขอบใบมีสีเหลืองลามไปถังโคนใบ ใบโน้มลง

  • พืชลำต้นอ่อนแอไม่แข็งแรง แคระแกร็น ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากการลำเลี้ยงสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืชไม่ดี เช่น พืชหัวจะมีลักษณะลีบไม่มีน้ำหนัก อ้อยมีน้ำตาลน้อย มะพร้าวไม่มัน ข้าวโพดเมล็ดลีบและไม่เต็มฝัก

           และอีกหนึ่งธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของโพแทสเซียมซิลิเกต คือ ธาตุซิลิกอน ซึ่งจัดเป็นธาตุอาหารเสริมประโยชน์พืชและมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิดที่สะสมซิลิกอนปริมาณมาก เช่น ข้าว อ้อย มะเขือเทศ แตงกว่า ถั่วเหลือง สตรอว์เบอร์รี เป็นต้น ธาตุซิลิกอนเป็นธาตุที่อยู่ในดินเป็นจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้น้อยพืชจึงนำมาใช้ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งการเพาะปลูกพืชชนิดเดียวในพื้นที่เดิมเป็นเวลานานจะส่งผลให้ปริมาณธาตุซิลิกอนในดินมีปริมาณน้อย จึงจำเป็นต้องมีการเติมธาตุซิลิกอนในดินเพิ่ม

ประโยชน์ของธาตุซิลิกอน

           พืชจะดูดธาตุซิลิกอนที่ละลายอยู่ในดินไปสะสมที่ผนังเซลล์เป็นชั้นฟิล์มบางๆ บริเวณเปลือกและใบ ซึ่งชั้นฟิล์มนี้มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้

  • ช่วยให้ลำต้นแข็งแรง ไม่ล้มง่าย ใบตั้งตรงรับแสงแดดได้ดี ทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชดีขึ้น
  • ช่วยให้พืชมีความทนทานโรค เชื้อรา แมลงศัตรูพืช และสภาพอากาศเช่น โรคใบไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล เมล็ดข้าวด่างดำ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  • ช่วยป้องกันการระเหยน้ำของพืช

ที่มา :

  1. องค์ความรู้เรื่องข้าว โดยสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว (www.ricethailand.co.th)

Interested in products or ask for more information

Contact us
logo