บทความ
การดูแลรักษาเนื้อไม้ด้วยโซเดียมซิลิเกต
ในปัจจุบันมูลค่าของไม้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างภายในบ้าน หรืออาคาร ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบของหลังคา ตัวบ้าน พื้น หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์ และบรรจุภัณฑ์ ก็จะพบว่าทำจากไม้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลในอนาคตคือการผลิตไม้แปรรูปอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ดังนั้นจึงควรใช้ประโยชน์จากไม้เหล่านี้ให้คุ้มค่าและยาวนานมากที่สุด การนำไม้มาอาบน้ำยาไม้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมไม้แปรรูป และมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากสามารถเพิ่มความแข็งแรงคงทน ยืดอายุการใช้งานให้แก่ไม้แปรรูปเหล่านี้ได้ การใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้เป็นการใส่สารเคมีเข้าไปในไม้ ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการผุพังจากสภาพอากาศ และความเสียหายอันเกิดจากแมลงกินไม้ตลอดจนเชื้อราต่าง ๆ โดยใช้สารประเภทกำจัดเชื้อราและกำจัดแมลงทำให้ ช่วยยืดอายุการใช้งานของไม้ออกไปอีกหลายสิบเท่าตัว
โครงการสนับสนุนเด็กในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566
ในวันที่ 14 มกราคม 2566 บริษัท ช.เคมีไทย จำกัด ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2566 โดยการบริจาคอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเพิ่มความตระหนักให้กับเด็กๆ เกี่ยวกับบทบาทของตนเอง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ เนื่องจากเด็กเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป ในปีนี้ บริษัทได้บริจาคจักรยาน ตุ๊กตา ของเล่น และอาหาร รวมมูลค่า 20,000 บาท เพื่อมอบให้กับเด็กๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้พัฒนาการเติบโตของเด็กในทุกๆด้าน
กาวติดกล่องกระดาษ
โซเดียมซิลิเกตชนิดเหลว สามารถนำมาทำเป็นกาวติดกล่องกระดาษได้ การใช้โซเดียมซิลิเกตในการติดกล่องกระดาษเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาความแข็งแรงและความคงทนของกล่อง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับวิธีการติดด้วยกาวทั่วไปที่ใช้ในการทำกล่องกระดาษ การใช้โซเดียมซิลิเกตไม่เพียงช่วยให้กล่องกระดาษมีความแข็งแรงและคงทน แต่ยังช่วยให้ประหยัดเวลาและทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นด้วย
การใช้โซเดียมซิลิเกตในการสังเคราะห์ซีโอไลต์
การสังเคราะห์ซีโอไลต์มีหลายวิธี เช่น การสังเคราะห์โดยไม่ใช้ตัวทำละลาย ด้วยการผสม การบด และการหลอมให้ความร้อนแก่วัตถุดิบ เป็นต้น องค์ประกอบหลักในการสังเคราะห์ซีโอไลต์ คือ อะลูมิเนียม จากสารประกอบอะลูมิเนต และซิลิกอน จากสารตั้งต้นที่มีซิลิกา เช่น สารละลายโซเดียมซิลิเกต ดินขาว เพอร์ไรต์ เถ้าลอย เถ้าแกลบ ฯลฯ
Green Industry
อุตสาหกรรมสีเขียว คือ อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการปรับปรุงกระบวนผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพร้อมกับการยึดมั่นในการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การใช้โซเดียมซิลิเกตในน้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ
น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำในเครื่องยนต์ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานของตัวเครื่องยนต์ ช่วยดูแลรักษาเครื่องยนต์ในขณะใช้งาน เนื่องจากมีคุณสมบัติในการระบายความร้อน และถ่ายเทความร้อนในเครื่องยนต์ ป้องกันการกัดกร่อน ป้องกันการเกิดคราบตะกรัน ป้องกันการเกิดฟอง
การใช้โซเดียมซิลิเกตสำหรับกาวยึดติด
โซเดียมซิลิเกตเหลวเป็นสารที่สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณองค์ประกอบได้หลากหลายขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งาน หนึ่งในการใช้โซเดียมซิลิเกตที่แพร่หลายคือการใช้โซเดียมซิลิเกตเป็นกาว(adhesive) ที่สามารถยึดติดวัสดุได้หลากหลายเช่น กระดาษลูกฟูกกระดาษฟอยล์แผ่นพลาสติก และอุปกรณ์เซรามิก เป็นต้น
การใช้โซเดียมซิลิเกตในกระบวนการผลิตไทเทเนียมไดออกไซด์
ไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) เป็นสารประกอบที่ได้จากการทำเหมืองแร่ ซึ่งได้จากแร่ที่มีองค์ประกอบของธาตุไทเทเนียม (Ti) เช่น แร่อิลเมไนต์ (ilmenite) แร่รูไทล์ (rutile)และแร่ไทเทนออร์ไจต์(titanaugite)เป็นต้น ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ได้จากกระบวนการผลิตมีลักษณะเป็นผงสีขาว ทึบแสง และสะท้อนแสงได้ดี
การใช้โซเดียมซิลิเกตสำหรับบำบัดน้ำเสีย
โซเดียมซิลิเกตสามารถใช้เป็นสารตกตะกอน (coagulant) ในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อลดระดับโลหะหนักในน้ำ เช่น เหล็กโครเมียม ทองแดง สังกะสี และนิกเกิล เนื่องจากโลหะหนักเป็นสารแขวนลอยประจุบวกที่สามารถถูกดึงมารวมกับซิลิเกตที่เป็นประจุลบ เมื่อกวนสารละลายในบ่อบำบัด ทำให้เกิดการรวมตัวจนได้ตะกอนใหญ่ขึ้นและตกลงที่ด้านล่างบ่อบำบัด ซึ่งตะกอนโลหะหนักที่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสารที่ปราศจากอันตราย (nonhazardous waste) และง่ายต่อการกำจัดในภายหลัง
การใช้โซเดียมซิลิเกตสำหรับล้อขัด
โซเดียมซิลิเกตเป็นสารที่สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณองค์ประกอบได้หลากหลาย เช่น ปริมาณโซเดียมออกไซด์ ซิลิกอนออกไซด์ และน้ำ ทำให้โซเดียมซิลิเกตสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย หนึ่งในการประยุกต์ใช้ที่แพร่หลายของโซเดียมซิลิเกต หนึ่งในอุตสาหกรรมที่นำโซเดียมซิลิเกตไปใช้เป็นสารยึดคือกระบวนการผลิตล้อขัด ล้อขัดเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับบด ตัดและเจียรชิ้นงาน
การใช้ซิลิเกตในสารทำความสะอาดโลหะ
ในการทำความสะอาดอุปกรณ์โลหะ ทั้งโซเดียมซิลิเกตและโพแทสเซียมซิลิเกตทำหน้าที่เป็นสารอิมัลสิฟายเออร์ (emulsifier) หรือตัวประสานระหว่างสารสองชนิดซึ่งไม่ละลายกันคือน้ำที่ใช้ล้างทำความสะอาดกับน้ำมันที่อยู่บนพื้นผิวโลหะ ทำให้สามารถรวมตัวกันได้ คราบน้ำมันจึงหลุดจากผิวโลหะและรวมตัวกับน้ำล้างได้ สารอิมัลสิฟายเออร์ที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ผงซักฟอก และน้ำยาล้างจาน ซึ่งสามารถทำความสะอาดคราบน้ำมันและคราบสกปรกอื่นๆที่ติดบนพื้นผิววัสดุด้วยหลักการเดียวกัน
การประยุกต์ใช้โซเดียมซิลิเกตสำหรับซิลิกาเจลและตัวเร่งปฏิกิริยา
ซิลิกาเจล (silica gel) คือสารสังเคราะห์ที่มีซิลิกอนออกไซด์ (SiO2) เป็นส่วนประกอบสำคัญ นิยมใช้เป็นวัสดุดูดซับความชื้นสำหรับอาหารแห้ง ยา และอุปกรณ์อิเล็คโทรนิค เนื่องจากเป็นวัสดุรูพรุนที่สามารถดักจับโมเลกุลของน้ำได้ดีและนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพียงระเหยน้ำออก